เรื่องของเรื่องเกิดจาก เมื่อวานนี้ (22 เมษายน) อยู่ๆ เกิดเหตุการณ์ของนักเล่น Twitter (บางส่วน) ปะทะ เจ้าของ Facebook Pages ชื่อดังจนทำให้เกิดกระแสที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆ มากมายบน Twitter ในช่วงนั้นเลยทีเดียว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นจะไม่ขอพูดถึงละกัน จะขอโฟกัสเรื่อง “การเป็นเซเล็บยังไง ให้ดังเร็ว” ปัจจุบันมันก็มีวิธีเยอะแยะมากมายที่คุณสามารถเป็นเซเล็บบนโลกออนไลน์ได้ง่ายๆ (เซเล็บ ในที่นี้คือ การเป็นคนดังในสังคม อย่างเซเล็บออนไลน์ ก็จะรู้จักกันในหมู่สังคมออนไลน์) เรามาโฟกัสให้ลึกเข้าไปอีกนิดนึงกับการเป็นเซเล็บด้วยวิธี “คัดลอกข้อความของคนอื่นมาแปะใส่ Note เพิ่ม Filter นิดหน่อย ใส่ชื่อเจ้าของข้อความด้วย font 8pt แต่ใส่ชื่อเพจตัวเองเบ้อเร้อ แล้วอัพขึ้น Facebook Page” โดยรวมขอเรียกอาการนี้ว่า “พวกขี้ก๊อปแลก Like”
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ทำไมถึงไปเรียกเขาว่า “พวกขี้ก๊อปแลก Like” เราย้อนมาดูกันก่อนว่า การให้เกียรติแก่ข้อความเจ้าของนั้นๆ หากเราอ่านหนังสือมากๆ จะเจอกับการอ้างอิงข้อความอยู่หลายแบบ ซึ่งหากเป็นการอ้างอิงข้อความในอินเตอร์เน็ท เมื่อคัดลอกข้อความเสร็จ ต้องทำการอ้างอิงจากลิ้งค์นั้นโดยตรง พร้อมเจ้าของบทความ ทีนี้มาดูการอ้างอิงข้อความใน Twitter บ้าง ถ้าหากเป็นการอ้างอิงข้อความใน Twitter นั้นๆ ลงในเว็บไซต์ของเรา Twitter ก็มีคำสั่งให้เรา Embed ข้อความนั้นๆ ลงไปในเว็บ ทำให้ไม่ต้องอ้างอิงอะไรอีก เช่น
ตรรกะ กลัวโดนก็อปทวีตก็อย่าทวีตสิ จดลงไดอารี่เอา ก็เหมือน กลัวโดนขโมยมือถือก็อย่าใช้ ส่งจดหมายเอา กลัวโจรขึ้นบ้านก็อย่ามีบ้าน นอนข้างถนนเอา
— เด็กหญิงปอหอ(@topazine) April 22, 2013
ทีนี้ การคัดลอกข้อความในบาง Facebook Page ที่เกิดขึ้น มันเหมือนการไป Ctrl+C แล้วก็ Ctrl+V ของคนอื่นมาโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วก็เอามาดัดแปลงนิดๆ หน่อยๆ แล้วก็เซฟเป็นภาพ ถามว่า ในเมื่อเค้าใส่เครดิตเจ้าของข้อความให้ในภาพนั้นๆ แล้ว ทำไมไปเรียกว่าก๊อปอีก คำตอบคือ การใส่ # ตามด้วยชื่อ Twitter ไม่ถือว่าเป็นการอ้างอิงนะครับ ถึงแม้จะใส่ @ ก็ตาม แต่ก็ไม่รู้อยู่ดีกว่า @ นี่มาจากเว็บไหน ตัวอย่างเช่น
กรณีที่ร้ายกว่าคือ ให้เครดิตแล้ว ตัวก็ใหญ่พอสมควร แต่… ก็ยังจะมีการใส่ชื่อ Social Network ของตัวเองเข้าไปในภาพด้วย นอกจากนั้นภาพจะโดนแชร์เยอะแล้ว เจ้าของเพจก็ได้ประโยชน์ทางลัดกันเลยทีเดียว ซึ่งข้ามหัวไปเลยว่า ใครคือเจ้าของข้อความนั้นๆ
กรณีที่ร้ายที่สุดคือ Fanpage พวกนั้น ขายของด้วย สรุป ไปเอาข้อความคนอื่นเค้ามาช่วยเรียกลูกค้าเข้าเพจ แถมได้ Like อีกตะหาก Win Win ทั้งเจ้าของและคนกด Like คน Share แต่ Lose ในแง่เจ้าของข้อความ
จริงๆ เรื่องมันผิดตั้งแต่การนำข้อความเหล่านั้นมาทำให้มันกลายเป็นภาพแล้วละครับ การทำแบบนั้น มันเหมือนเป็นการสร้างสรรค์งานของตัวเองขึ้นมาโดยไปหยิบองค์ประกอบของคนอื่นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตนั่นเอง เพื่อให้เรื่องนี้เข้าใจมากขึ้น ผมขอเชิญคุณฮัสกี้ (@JokerDeZ) เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาอธิบายเรื่องนี้เป็นการ์ตูนอย่างให้เข้าใจนะครับ
น่าจะพอเข้าใจแล้วนะครับว่า ทำไมการนำข้อความมาเปลี่ยนเป็นภาพถึงเป็นเรื่องที่หลายๆ คนใน Twitter ถึงไม่ค่อยสบอารมณ์กับเหตุการณ์แบบนี้ ถึงจะมีคนมาเปรียบว่า “ถ้าไม่ชอบให้ก๊อป ก็อย่าเล่นเลย” แล้วถ้าถามกลับไปว่า “เราก็เล่นอยู่ของเราดีๆ แล้วคุณก็เอาไปซะดื้อๆ สรุปผิดที่เราเล่นหรือ” แม้ข้อความเหล่านี้เป็นสาธารณะ แต่ก็ไมไ่ด้ความหมายไม่มีเจ้าของนะครับ แล้วถามบอกว่า “ทำไมเราสามารถเอาข้อความในหนังสือมาแชร์ได้ แต่ข้อความบน Twitter ทำไมถึงเอามาแชร์แบบนี้ไม่ได้” ความหมายต่างกันครับ หนังสือคือการเผยแพร่อยู่แล้ว เราสามารถนำข้อความพวกนั้นมาใช้เพียงแค่อ้างอิง แต่ข้อความใน Twitter มันไม่ได้มีการเผยแพร่เป็นหนังสือ ฉะนั้น เหตุการณ์นี้ จึงอยากให้เป็นเรื่องที่อยากให้ทุกๆ คนทั้ง Twitter และ Facebook User ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ลองคิดกันดูว่า เรื่องแบบนี้ควรจะมีทางแก้ไขได้อย่างไร ผมขอเสนอวิธีแก้ไขปัญหานี้คร่าวๆ คือ หากคนใน Facebook ชอบข้อความของคนใน Twitter ให้คุณ Capture ทวีตนั้นๆ มาเลย โดยไม่มีการดัดแปลงหรือแก้ไขอะไรทั้งสิ้น เช่น
ก็จะทำให้ครบทั้งเวลา ข้อความและเจ้าของอีกด้วย ส่วนเรื่องการนำข้อความของผู้อื่นไปหา Like หรือหาเงินนั้น ถือว่าเป็นดุลพินิจของคนที่นำไปใช้นะครับ ต้องคิดหลายๆ มุมว่า คุณได้ผลประโยชน์จากชิ้นส่วนของคนอื่นโดยที่เค้าไม่ได้เงินเลยนั้น มันเป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่ในสังคมออนไลน์แห่งนี้ ฉะนั้น หยุดการเป็น “พวกขี้ก๊อปแลก Like” เถอะครับ สังคมนี้จะได้ไม่มีดราม่าให้จ่าพิชิตเขียนอีก ?
ฝากไว้ให้ได้คิด
ขอมอบทวิตภาพดีเด่นให้กับคุณ @lonccz กับภาพที่ว่า…